top of page
ค้นหา
kaomongkol group

เก้ามงคล x CPAC การร่วมมือครั้งสำคัญเพื่อโลก - เปลี่ยน " เศษคอนกรีต" ให้เกิดประโยชน์ ด้วยแนวคิด ESG

อัปเดตเมื่อ 10 พ.ย. 2566


บริษัท เก้ามงคล กรุ๊ป จํากัด ร่วมกับ บริษัท ซีแพคคอนสตรัคชั่น โซลูชั่น จำกัด ได้ดำเนินกิจกรรม Turn waste to value จัดการเศษคอนกรีตที่เหลือจากกระบวนการก่อสร้าง ให้เกิดประโยชน์ ภายใต้ โครงการ “ เก้ามงคลก้าวเพื่อโลก ” นำทีมโดย คุณ ณรงค์ วงษ์เกษม Solution Development Manager บริษัท ซีแพคคอนสตรัคชั่น โซลูชั่น จำกัด ( CPAC Construction Solution ) ร่วมกับ ดร.เชิดพันธ์ สุคนธ์พงษ์เผ่า CEO บจก.เก้ามงคล กรุ๊ป และ นางสาวสุดากาญจน์ สุคนธ์พงษ์เผ่า CAO บจก.เก้ามงคล กรุ๊ป เพื่อสานต่อนโยบาย ด้าน ESG เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน โดยในโครงการนี้ได้มุ่งเน้นเรื่อง Environment การจัดการเศษคอนกรีตที่เหลือจากกระบวนการผสมหรือก่อสร้าง


ส่วนใหญ่นำไปกำจัดด้วยวิธีการนำไปถมที่ แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าของเศษคอนกรีต อีกด้านหนึ่ง การจัดการ Waste ให้ถูกวิธีสามารถจัดประเภทเป็นการ ( Recycle ) ของเหลือใช้ให้นำไปใช้ต่อ และยังสามรถคำนวณป็นค่า คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฏจักรชีวิต หรือจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กร



พนักงานบริษัท เก้ามงคล กรุ๊ป จำกัด



บริษัท เก้ามงคล กรุ๊ป จํากัด ได้นำปัญหา การจัดการเศษคอนกรีตที่เหลือจากกระบวนการผสมหรือก่อสร้าง เข้าปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ คุณณรงค์ วงษ์เกษม Solution Development Manager บริษัท ซีแพคคอนสตรัคชั่น โซลูชั่น จำกัด ( CPAC Construction Solution ) จนได้ทางออก โดยนำเศษคอนกรีตจากหัวเสาเข็ม มาผ่านกระบวนการบดย่อยให้เป็นมวลรวมหยาบรีไซเคิล (Recycled Coarse Aggregate) เพื่อนำกลับไปใช้เป็น วัสดุทดแทนในการก่อสร้าง เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตคอนกรีตใหม่ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ตัวแทนจาก บริษัท ซีแพคคอนสตรัคชั่น โซลูชั่น จำกัด

การบริหารจัดการเศษคอนกรีตของหัวเสาเข็มจากไซต์ก่อสร้างในครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของการเริ่มลดปริมาณขยะที่เกิดจากก่อสร้าง ลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการผลิตคอนกรีตใหม่ รวมถึงเป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของโลก ( Sustainable Development Goals : SDGs ) โดยผ่านกิจกรรมการลดการเกิดเศษวัสดุก่อสร้าง ( Material waste ) หรือการนำเศษวัสดุไปทำให้เกิดประโยชน์ เช่น การใช้ซ้ำ ( Reuse ) การนำกลับมาใช้ใหม่ ( Recycle )

ดู 47 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page