ข้อมูลบริษัท
นโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
บริษัท เก้ามงคล กรุ๊ป จำกัด
1.บทนำ
บริษัท เก้ามงคล กรุ๊ป จำกัด (“บริษัท”) ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ อย่างระมัดระวังในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยยึดถือปฏิบัติตามหลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อประโยชน์สูงสุดขอผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้อง จึงกำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน เพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นมั่นใจว่า บริษัทมีช่องทางและกระบวนการในการแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียนที่โปร่งใส ปลอดภัย และเป็นธรรมต่อผู้แจ้งหรือร้องเรียน
2.ขอบเขตการแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน
เมื่อมีข้อสงสัย เชื่อว่า หรือมีเหตุอันควรเชื่อโดยสุจริตว่ามีการกระทำที่ไม่สุจริตหรือไม่โปร่งใส หรือมีการฝ่าฝืนหลักปฏิบัติที่ดีในเรื่อง
-
นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ ข้อกำหนด หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ของบริษัท
-
การกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณและจริยธรรมของบริษัท
-
กฎหมาย ข้อกำหนดของทางการบุคคลที่สามารถแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน
3.บุคคลที่สามารถแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน
บุคลากรของบริษัททุกระดับ รวมถึงบุคคลภายนอกหรือผู้ที่ทราบข้อสงสัยตามขอบเขตที่ระบุไว้ในข้อ 2 สามารถแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียนต่อบริษัทได้
4.การให้ความคุ้มครอง
-
บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลและรายละเอียดของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียนไว้เป็นความลับหรืออาจเปิดเผยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในวงจำกัด ทั้งนี้การจะเปิดเผยข้อมูลใดๆ บริษัทจะพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
-
บริษัทจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อร่วมกันพิจารณาเบาะแสและข้อร้องเรียนด้วยความละเอียดรอบคอบ ระมัดระวัง และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
-
กรณีที่ผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริง เห็นว่าตนอาจไม่ปลอดภัย หรืออาจได้รับความเดือดร้อน เสียหาย สามารถร้องขอให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือคณะกรรมการสอบสวนกำหนดมาตรการให้คุ้มครองที่เหมาะสมได้
5.การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง
บริษัทได้มอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อทำหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน และดำเนินการใดๆ ในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงของเบาะแสหรือข้อร้องเรียน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดการแก้ไขข้อร้องเรียนนั้น โดยกระบวนการสอบสวนต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส และเที่ยงธรรม
คณะกรรมการสอบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริง ประกอบด้วยตัวแทนจากฝ่ายหรือหน่วยงานของบริษัท 3 ฝ่าย
-
ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
-
ฝ่ายต้นสังกัดของผู้ถูกแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
-
ฝ่ายหรือหน่วยงานอื่น ที่มีความเป็นอิสระ เช่น ฝ่ายตรวจสอบภายใน ฝ่ายบัญชี แผนกกฎหมาย เป็นต้น
6.ช่องทางในการแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน
บริษัทกำหนดช่องทางในการรับแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน ดังนี้
- กล่องรับข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียน
-
การแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียนโดยตรงถึง
2.1.ผู้บังคับบัญชาที่ตนเองไว้วางใจทุกระดับ
2.2.ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
2.3.เลขานุการบริษัท
2.4.กรรมการตรวจสอบ
2.5.กรรมการบริษัท
3. อีเมล : ส่งอีเมลตรงถึงคณะกรรมการตรวจสอบ
4. ทางไปรษณีย์ : ส่งโดยตรงถึงคณะกรรมการบริษัท หรือคณะกรรมการตรวจสอบ
อนึ่ง ทุกช่องทางการแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน เลขานุการบริษัทจะทำหน้าที่ในการประสานงานรับ-ส่งเรื่อง ติดตามผลการสอบสวน และรวบรวมเรื่อง
7. ขั้นตอนการดำเนินการ
-
กรณีเป็นการร้องทุกข์ของพนักงาน ให้ปฏิบัติตามข้อบังคับการทำงานเรื่อง การร้องทุกข์
-
กรณีเป็นการแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน ตามขอบเขตที่ระบุไว้ข้อ 2 ให้เลขานุการบริษัท ดำเนินการดังนี้
2.1. กรณีไม่มีสาระสำคัญ หรือมูลค่าความเสียหายไม่มาก ให้ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังประธานเจ้าหน้าที่บริหารพิจารณาสั่งการให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงและจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจสอบและความเห็นหรือข้อเสนอแนะเสนอต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อพิจารณาสั่งการ และสรุปผลแจ้งเลขานุการบริษัท เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
2.2. กรณีมีสาระสำคัญ หรือมูลค่าความเสียหายมาก ให้รายงานประธานเจ้าหน้าที่บริหารโดยทันที เพื่อพิจารณาสั่งการคณะกรรมการสอบสวนและตรวจสอบข้อเท็จจริงดำเนินการตามกระบวนการและสำเนาแจ้งคณะกรรมการตรวจสอบ
3. ผลการสอบสวนการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
3.1. กรณีผู้ถูกร้องเรียนไม่มีความผิด หรือเป็นเรื่องที่เกิดจากความเข้าใจผิดหรือได้ให้ข้อแนะนำแก่ผู้ถูกร้องเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีการประพฤติหรือปฏิบัติที่เหมาะสมแล้ว และไม่มีการลงโทษใดๆ ให้คณะกรรมการสอบสวนฯ สรุปผลแจ้งต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำเนาแจ้งเลขานุการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ
3.2. กรณีผู้ถูกร้องเรียนมีความผิด และมีการลงโทษทางวินัยและหรือดำเนินคดีทางกฎหมาย(ถ้ามี) ให้คณะกรรมการสอบสวนฯ เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อได้ข้อสรุปแล้ว ให้คณะกรรมการสอบสวนฯ สรุปผลการสอบสวนแจ้งเลขานุการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ
3.3. กรณีเป็นข้อร้องเรียนจากผู้ที่ไม่ระบุชื่อและไม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้เพียงพอ ให้รายงานประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อพิจารณาสั่งการ
4. การแจ้งผลสรุปต่อผู้ร้องเรียน และการแก้ไขปรับปรุง
ให้กรรมการสอบสวนฯ แจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบ และสรุปแนวทางการแก้ไขปรับปรุงเสนอประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
8. การร้องเรียนโดยไม่สุจริต
การแจ้งเรื่องร้องเรียน แจ้งเบาะแส ให้ถ้อยคำ หรือให้ข้อมูลใดๆ ถ้าพิสูจน์ได้ว่ากระทำโดยไม่สุจริต หรือจงใจ กลั่นแกล้ง ใส่ร้าย บิดเบือนข้อเท็จจริง กรณีเป็นพนักงานจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามข้อบังคับการทำงานและระเบียบของบริษัท กรณีเป็นการกระทำโดยบุคคลภายนอก รวมถึงการกระทำโดยพนักงานบริษัท และทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย บริษัทอาจจะพิจารณาดำเนินการทางกฎหมาย ตามแต่กรณี
ประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน 2565
บริษัท เก้ามงคล กรุ๊ป จำกัด